ข้อความ

บล๊อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวันและเพื่อให้ผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้ได้

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555




คำศัพท์เกี่ยวกับร้านอาหารแบบง่าย ๆ



                Thực đơn         ถึก เดิน              เมนูอาหาร  

                  Món                 หมอน                ชนิดของอาหาร    
         
                  Đặc sản           ดัก ส่าน             อาหารจานเด็ด 

                  Ăn                    อัน                    กิน

                  Uống                อ๋วง                   ดื่ม

                  Phở                  เฝ๋อ                  ก๋วยเตี๋ยว

                  Cơm                 เกิม                   ข้าวสวย

                  Cô ca                โก กา                โค้ก
                 
                  Nước khoáng    เนื๊อก ขวาง         น้ำเปล่า
                 
                  Cơm xào           เกิม ส่าว             ข้าวผัด
                 
                  Nước cam        เนื๊อก กาม            น้ำส้ม

                  Rau                  เซา                     ผัก
                 
                  Cốc                  โก๊ก                     แก้ว

                  Giá                   สา                       ราคา
                  
                  Đĩa                   เดี๊ย                      จาน

                 Tôm                  โตม                      กุ้ง
                 
                 cá                      ก๋า                       ปลา

                 Nước mắm        เนื๊อก มั๋๋ม              น้ำปลา 
                 
                 Thịt lớn             ถิต เลิ๋น                เนื้อหมู

                 Thịt bó              ถิต บ่อ                  เนื้อวัว
             
                 Đường             เดื่อง                     น้ำตาล





                                     
                                      

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มารู้จักอาหารขึ้นชื่อที่ฮานอย บู๋น จ่า


เนื้อย่างเป็นส่วนผสมหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของอาหารที่ชื่อว่า บู๋น จ่า


บู่น (ขนมจีนบ้านเรา) 


ผัก และน้ำซุบที่มีส่วนประกอบคือ เนื้อย่าง 


การรับประทาน 
ใช้ขนมจีนกับผักจิ้มเทลงไปในน้ำซุบ แล้วก็ทานเลยจ้า 

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555


'เปิบหมา'อาหารเหลาชาวเวียดนาม

'เปิบหมา' อาหารเหลา-เสริมดวง-ฟื้นไข้ ย้อนรอยวัฒนธรรมการกินผ่าน 'ยลญวน'


เกิดเสียงวิพากษ์หลากหลายแง่มุมตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ภายหลังเจ้าหน้าที่จับกุมขบวนการค้าสุนัขข้ามชาติพร้อมทั้งยึดของกลางร่วม 2,000 ตัว พฤติกรรมของผู้ต้องหากลุ่มนี้จะออกตระเวนซื้อ แลก และลักสุนัขจากพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะในภาคอีสาน จากนั้นจับยัดใส่กรงลำเลียงทางรถยนต์ไปยังพื้นที่ อ.บ้านแพง จ.นครพนม ขนสุนัขลงเรือหางยาวข้ามแม่น้ำโขงขึ้นฝั่งที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ส.ป.ป.ลาว) ก่อนรถบรรทุกส่งต่อไปยังเมืองหลักซาว แขวงบอริคำไซมา ส.ป.ป.ลาว กระทั่งถึงด่านกาวแจว ของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

 

 
พฤติกรรมการบริโภคเนื้อสุนัข หรือเนื้อหมา ของประเทศเพื่อนบ้านนี้ ท่านทูตพิษณุ จันทร์วิทัน ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ในช่วงที่ปฏิบัติหน้าที่เอกราชทูตไทยประจำกรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เมื่อปี 2552-2553 ในพล็อตเก็ตบุ๊กชื่อ "ยลญวณ" ตอน .."เปิดพิสดารในเวียดนาม" สะท้อนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการกินของชาวเวียดนามได้อย่างลึกซึ้งทีเดียว
ท่านทูตพิษณุ เริ่มต้นด้วยประโยคตรงประเด็นว่า ที่เป็นเรื่องพูดกันมากอีกเรื่องหนึ่งคือ การรับประทานสุนัข หรือพูดง่ายๆ ว่า "คนเวียดนามกินเนื้อหมานั่นเอง"
คนไทยเราและต่างชาติอื่นๆ พอพูดถึงเรื่องคนเวียดนามกินหมาก็รู้สึกว่าเป็นเรื่องน่ารังเกียจ เพื่อนผมหลายคนไปเที่ยวฮานอยเห็นเขาเอาสุนัขที่ย่างแล้วใส่ท้ายรถจักรยานยนต์บนถนนก็ทำท่าแปลกๆ ซึ่งเข้าใจได้ว่าเพราะคนไทยไม่นิยมรับประทานเนื้อหมา เพราะมันเป็นสัตว์ใกล้ชิดและเป็นมิตรที่ดีของคน เราถือว่าเป็นสัตว์เลี้ยง
ทว่าคนเวียดนามมีข้อโต้แย้งว่า การรับประทานเนื้อสัตว์ชนิดใด เป็นความเชื่อความนิยมของชาตินั้น จะมาเอามาตรฐานความเชื่อของชาติหนึ่งไปใช้กับอีกชาติหนึ่งไม่น่าจะถูกต้อง ดูอย่างคนยุโรป เลี้ยงม้า รักม้า ขี่ม้าด้วยซ้ำ ก็เห็นกินเนื้อม้ากันทั้งนั้น ไม่เห็นมีใครวิจารณ์ อย่างกระต่าย คนเอเชียจำนวนมากถือเป็นสัตว์เลี้ยงที่น่ารัก แต่ฝรั่งก็เอามาทำอาหารหน้าตาเฉย
ที่มากกว่านั้นคือ เนื้อหมายังเป็นที่นิยมในหลายประเทศ เช่น จีน เกาหลี แม้แต่คนยุโรปโบราณ
การกินเนื้อหมาของเวียดนามมีเรื่องน่าสนใจที่คนไทยยังไม่ค่อยรู้ อย่างแรก คนเวียดนามไม่ได้รับประทานเนื้อหมาทุกคน และไม่ได้มีขายทั่วไป เป็นความนิยมเฉพาะกลุ่มอาจไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ ตามวัดในเวียดนามเขาก็ไม่ได้เอาเข้าไปรับประทาน
"เพื่อนคนไทยบางคน ผมพาไปรับประทานอาหารตามร้าน ชอบถามกันว่า แน่ใจนะว่าไม่ใช่เนื้อหมา ผมต้องตอบว่าไม่ต้องกลัว ไม่ใช่เนื้อหมาแน่ ตอบแบบนี้บางคนยังไม่ไว้ใจ กลัวว่าแม้เราจะไม่ได้สั่ง ก็อาจทำมาผิด แบบว่าสั่งเนื้อหมูแล้วคนครัวทำเนื้อหมามาให้ นั่นยิ่งเป็นไปไม่ได้ พอๆ กับการไปสั่งเนื้อย่างจิ้มแจ่วในร้านอาหารอีสานแถวสนามมวยราชดำเนิน แล้วเกิดวิตกกังวลว่าคนครัวจะเอานิวยอร์กคัทสเต๊ก หรือริบอายนำเข้าจากออสเตรเลียมาย่างให้กิน"
ท่านทูตพิษณุอธิบายว่า เนื้อหมาถือเป็นของพิเศษ เป็นอาหารชั้นดี ราคาเนื้อหมาแพงกว่าเนื้อหมูเกือบ 2 เท่าตัว มีขายในร้านโดยเฉพาะเท่านั้น ฉะนั้นถ้าไปเที่ยวที่ฮานอยโปรดทำใจให้สบาย อย่ากังวลว่าจะได้รับประทานเนื้อหมาโดยไม่ได้ตั้งใจ
"ถ้าไปรับประทานอาหารตามร้านกับชาวเวียดนาม อย่าถามแบบที่เล่าไปแล้ว เพราะจะเป็นเรื่องตลกโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้ายังนึกภาพไม่ออกว่าตลกยังไง ลองสมมติว่าเราไปกินกระเพาะปลาตามร้านแถวเยาวราช พออาเฮียคนขายยกจานกระเพาะปลามาวางบนโต๊ะ เราก็ถามว่านี่กระเพาะปลา ไม่ใช่หูฉลามแน่นะ ประมาณนั้น"
คนรับประทานเนื้อหมาที่เวียดนามเขาถือว่า ถ้าดวงไม่ค่อยดี ทำการค้าถ้าติดๆ ขัดๆ ต้องแก้ด้วยการกินเนื้อหมา และกินเฉพาะข้างแรมเท่านั้น ส่วนข้างขึ้นห้ามเด็ดขาด ไม่อย่างนั้นจะยิ่งโชคร้ายไปกันใหญ่ ยิ่งช่วงระหว่างวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 3 ค่ำ ยิ่งร้ายหนักเข้าไปใหญ่ ดังนั้นร้านขายเนื้อหมาส่วนมากจึงเปิดเฉพาะวันข้างแรมเท่านั้น นี่ผมไม่รวมพวกตามบ้านนอกที่ขายพวกคอเหล้าที่กินกันไม่เลือกมื้อเลือกวัน ดังนั้นพวกทำธุรกิจการค้าที่ต้องการความเฮงเขาก็ถือว่ากินเนื้อหมาแล้วโชคดี
คนเวียดนามเชื่อด้วยว่า เนื้อหมามีโปรตีนสูงกว่าเนื้อสัตว์อื่นๆ ดังนั้นคนที่เจ็บป่วย หรือผ่าตัด ในระยะพักฟื้นร่างกาย แพทย์ชาวเวียดนามจะแนะนำให้ไปซื้อเนื้อหมามารับประทาน ร้านที่ขายเนื้อหมาที่ฮานอยมีอยู่หลายร้าน อยู่ย่านถนนงี ต่าม และบริเวณใต้สะพานลอง เบียน หน้ารานจะเขียนว่า "ถิด จ๋อ" แปลว่า "เนื้อหมา" แต่เมื่อนำมาประกอบอาหารในร้านอาหารชั้นดีเขาจะเขียนว่า "ถิด เก่ย" แปลว่า "เนื้อสุนัข" ฟังดูดีกว่าเล็กน้อย หลักๆ นิยมปรุง 7 เมนู คือ ไส้กรอก ต้มเค็ม ย่าง ต้ม ต้มซุป ผัด และลาบเลือด
ในช่วงหนึ่งท่านทูตพิษณุยกคำกล่าวของล่ามชื่อ "ดาว วัน เติม" หยิบยกสำนวนชาวญวนโบราณมาเล่าว่า...
"โอ้ว่าเกิดมาชาติหนึ่งเล่า
ถ้าตายเปล่าคิดไปแล้วใจหาย
หากปลดปลงนรกจะเสียดาย
ไส้กรอกหมาเป็นอย่างไรไม่เคยลอง"

ทั้งนี้ผู้เขียนยังเล่าประสบการณ์เปิบพิสดารยาดองสมุนไพรและสัตว์แปลกๆ อย่าง "งู" รวมทั้งอาหารพื้นเมืองอีกหลากหลายเมนู
นี่เป็นเพียงเนื้อหาบางส่วนใน "ยลญวณ" จัดพิมพ์โดย "คม ชัด ลึก" บันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-เวียดนาม รวมทั้งการแข่งขันทางการค้าในฐานะกลุ่มประเทศอาเซียน เชื่อว่าเมื่ออ่านถึงหน้าสุดท้ายอาจทำให้เราเข้าใจเพื่อนบ้านมากยิ่งขึ้น


สัมผัสชนบทเวียดนาม
ห่างจากกรุงฮานอยแค่ 60-80 กิโลเมตร แต่ชีวิตของชาวบ้านมีความแตกต่างจากคนเมืองกรุงอย่างสิ้นเชิง ในแต่ละบ้านจะมีพัดลม2-3 ตัว ทีวี1เครื่อง ไม่มีตู้เย็นสักบ้าน พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาทั้งหมด ไม่มีน้ำปะปาใช้ชาวบ้านที่พอมีตังค์หน่อยจะขุดบ่อน้ำบาดาลใช้ บ้านใหนมีตังค์น้อยต้องไปหาบน้ำซึ่งอาจห่างไกลเป็นกิโลเพื่อนำมาใช้อย่างประหยัด อาหารส่วนมากจะเป็นพวกผักเป็นเสียส่วนมากเพราะเนื้อสัตว์ราคาแพงมาก(เท่า ๆ กับไทยแต่ในบ้านเขาถือว่าแพงมาก) อาหารยอดนิยมที่ขายดิบขายดีในชนบทคือ "หมี่โตม" ซึ่งก็คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในไทยนั่นแหละ ซองหนึ่งประมาณ 4000 ดอง หรือ ประมาณ 7-8 บาทไทย โดยชาวบ้านจะนำมาหุงกับผัก(อาจใส่เนื้อด้วย) เป็นอาหารกินกับข้าวซองเดียวกินกันทั้งบ้าน ระดับความเผ็ดของอาหารที่ชาวเวียดนามกินคือแค่พริกไทยก็เผ็ดมากแล้ว แค่บะหมี่สำเร็จรูปเผ็ดเล็กน้อยก็อาจทำให้เด็ก ๆ กินกันไม่ได้เลยทีเดียว

อาชีพหลักของชาวบ้านคือการทำนาในพื้นที่ราบในทุกที่ ที่เป็นที่ราบ ซึ่งน้ำในการเกษตรในเวียดนามอุดมสมบูรณ์มาก ถ้าฝนไม่แล้งอาจทำนาได้ถึง 3 ครั้งต่อปีเลยทีเดียว ทางการของเวียดนามจัดระบบการส่งน้ำในการเกษตรในเวียดนามได้ดีมาก ไฟฟ้าในเขตชนบทเวียดนามดับบ่อยมาก บางครั้งอาจดับถึง 2-3 วันก็มี ซึ่งแล้วแต่หลวงท่านจะปล่อยไฟมาให้ใช้ ไม่มีใครกล้าโวยวายเรื่องไฟฟ้าเพราะกลัวว่าหลวงท่านไม่ให้ไฟฟ้าใช้อีก ชาวบ้านในทุกบ้านจึงต้องมีตะเกียงกันทุกบ้าน เพื่อให้แสงสว่างในเวลาค่ำคืนในช่วงเวลาดับ ความหวังในแต่ละบ้านคือมีบ้านปูนดี ๆ ไว้อยู่อาศัยแทนบ้านกระต๊อบเก่า ๆ ที่ฉาบด้วยดิน และมีบ่อน้ำบาดาลไว้ใช้เองในทุกบ้าน
โรงเลี้ยงเป็ดไก่และโรงเก็บฟืน

กระต๊อบอาศัยนอนสำหรับผู้ยังไม่มีบ้านปูน

บ้านปูนที่เป็นที่ใฝ่ฝันอยากจะมีสักหลังของชาวชนบท ในภาพผู้เขียนได้นำจาน KU ไปทดสอบติดตั้งเพื่อเป็นของกำนัลให้บ้านที่อาศัย

การลงแขกทำนาปลูกข้าว

เกวียนเทียมควายของชาวเวียดนาม



ในประเทศเวียดนามเมื่อมีคนต่างถิ่นไม่ว่าใครถึงแม้จะเป็นคนเวียดนามเองเข้าในหมู่บ้านเมื่อมีการค้างคืนจะต้องมีการแจ้งหัวหน้าหมู่บ้านหรือตำรวจในหมู่บ้าน เราเองก็ต้องไปแจ้งด้วยเพื่อขอไปค้างคืนในหมู่บ้าน คาดว่าคงเป็นการป้องกันการรวมตัวรวมกลุ่มในการปลุกระดมแอนตี้กับรัฐบาล คนที่รับราชการที่มีอำนาจมากในแต่ละแห่งคือ ตำรวจ ซึ่งมีอำนาจชี้เป็นชี้ตายชาวบ้านเลยทีเดียว ชาวบ้านในเวียดนามจึงต่างก็กลัวตำรวจกันเป็นอย่างมาก

สำหรับภาษาที่ใช้ในเวียดนามจะมีหลายร้อยหลายพันสำเนียงแต่มีตัวหนังสือแบบเดียว ในเวียดนามจะไม่มีภาษากลางให้ใช้ ใครสามารถฟังสำเนียงต่างถิ่นได้ก็ดีไปใครฟังไม่ออกก็จำเป็นต้องยอมเขียนหนังสือกันเอาเอง แต่เพราะชาวชนบทเวียดนามไม่ค่อยออกจากถิ่นจึงไม่ค่อยติดต่อกับต่างถิ่นเท่าไรจึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องนี้ แต่สิ่งที่รู้แน่ ๆ คือภาษาทางฮานอยและไซ่ง่อน(โฮจิมินท์) เพราะส่งสัญญาณโทรทัศน์ให้รับชมกัน ซึ่งทั้งสองภาษานี้ถ้าไม่ใช่คนเวียดนามคงนึกว่าเป็นคนละภาษากันแน่ แต่ชาวเวียดนามก็เข้าใจกันได้

สำหรับศาสนาของชาวเวียดนามที่ผมเห็นจะมีเพียงศาสนาคริตส์ และ บรรพบุรุษเท่านั้น สำหรับศาสนาคริตส์จะมีเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ แต่ตามชนบทจะเป็นการนับถือบรรพบุรุษแทน ในชนบทจึงไม่มีวัดใด ๆ อยู่เลย เมื่อมีบุคคลในครอบครัวเสียชีวิตจะนำศพไปฝังในทุ่งนาตามซินแสดูฮวงจุ้ยแนะนำ เราจึงเห็นทุ่งนาในประเทศเวียดนามมีหลุมศพกันกลางทุ่งอยู่มากมาย ในแต่ละบ้านจะมีหิ้งใหญ่ที่เหมือนหิ้งพระของไทยเราแต่มีขนาดที่ใหญ่กว่ากันมาก จะเป็นการกราบไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับแทน
ท้องทุ่งนาที่เต็มไปด้วยสุสาน

หิ้งบูชาบรรพบุรุษชาวเวียดนาม


สำหรับเครื่องใช้ต่าง ๆ ชาวเวียดนามเจอสินค้าแย่ ๆ จากจีนจนชินตา สินค้าราคาไม่แพงจากไทยจึงเป็นสิ่งที่ต้องการกันมากเพราะคุณภาพดีกว่าของจีนเป็นเท่าตัว เราจึงเห็นสินค้าหลายอย่างที่ทำเป็นสินค้าปลอมโดยการพิมพ์ตัวหนังสือไทยขายกันดาษดื่น(แค่ทำให้เป็นภาษาไทยแต่คนไทยอ่านแทบไม่ออก) สำหรับสินค้าในประเทศเวียดนามที่วางขายทั้งหมดเกือบทุกอย่างต้องพิมพ์เป็นภาษาเวียดนาม เขาถึงซื้อกัน เพราะชาวเวียดนามอ่านได้แค่ภาษาเดียวคือเวียดนาม ยกเว้นเครื่องดื่มยอดนิยมจากไทยเพียงตัวเดียวที่เห็นขายกันคือ กระทิงแดงกระป๋อง ชาวเวียดนามนิยมดื่มกันมากราคาขายคือ 10000 ดอง หรือประมาณ 20 บาท
ตัวอย่างไฟแช็คที่ทำตัวหนังสือไทยขาย


บริษัทใหญ่ ๆ ที่ทำการลงทุนในเวียดนามส่วนมากจะเป็นจีน เกาหลี และประเทศทางยุโป ส่วนไทยผมเห็นแค่ของ เครือเจริญโภคภัณท์(ซีพี)เจ้าเดียว(ใหญ่มาก) ลงทุนเกี่ยวกับพืชผลทางการเกษตรและอาหารสัตว์ ไก่ ประมาณนี้ พอดีขี่รถโดยสารจับภาพมาให้ดูไม่ทัน

การเกษตรกรรม
อาชีพหลักของชาวเวียดนามค่อนประเทศคือการทำนาปลูกข้าว และการปลูกพืชผลการเกษตร เช่นอ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง และไม้ยืนต้นเพื่อแปรรูปในการทำไม้ มีการเลี้ยงเป็ด-ไก่กันทุกครัวเรือน ในการทำนาชาวบ้านจะร่วมมือกันเพื่อดำนาปลูกข้าว-เกี่ยวข้าวกัน โดยผลผลิตที่ได้จะส่งให้รัฐบาลขายในพันธ์ข้าวที่ดี ๆ แล้วเก็บไว้กินเองในส่วนของข้าวที่ไม่มีคุณภาพ ประเภทข้าวหักข้าวเม็ดเล็ก ๆ เป็นต้น โดยคุณภาพของข้าว ชาวบ้านก็รู้ดีว่าพันธุ์ข้าวของเวียดนามยังสู้ไทยไม่ได้ ข้าวไทยมีราคาแพงมากในประเทศเวียดนามต้องประเภทรวย ๆ จึงจะมีสิทธิ์ซื้อมากินกัน
ทุ่งนาที่อยู่ท่ามกลางขุนเขา


ข้าวเปลือกของเวียดนาม

ข้าวสารที่ชาวบ้านใช้หุงกิน


ชาวบ้านในเวียดนามนิยมกินเบียร์กันมาก (ลิตรละประมาณ 8000ดอง หรือประมาณ 15-16บาท) แม้แต่เด็กอายุ 2-3 ขวบ เขาก็ให้กินกันแล้ว ส่วนในวัยทำงานถ้าออกจากโรงเรียนมาทำงานกันแล้ว(ประมาณอายุ15-16) ก็สามารถดูดบุหรี่กันได้แล้ว บุหรี่ในประเทศเวียดนามราคาถูกมาก(ซองละ 4000ดอง หรือประมาณ 7-8 บาท) คนเวียดนามจึงมีการสูบบุหรี่กันมากเห็น 100 คนสูบบุหรี่เป็นเสีย 99 คนแล้ว สำหรับเหล้าขาวก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ชาวเวียดนามชื่นชอบกันมาก ซื้อมากินกันทีเป็นลิตร ๆ

เมื่อเห็นวิถีชาวบ้านแล้วนึกถึงประเทศไทยขึ้นมาทันที ชาวนาไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าประเทศเวียดนามเป็นอย่างมากเพราะมี ของขวัญอันล้ำค่าที่"ในหลวง"ของเราพระราชทานให้คือ "เศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกพืช-เลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ไว้กินเอง เหลือกินก็ค่อยนำไปขาย ทำให้ชาวบ้านอยู่อย่างอัตภาพไม่เดือดร้อน แต่ชาวบ้านในประเทศเวียดนาม ทำนาแล้วก็ปลูกแต่พืชผลการเกษตรเท่านั้น วันใหนราคาดีก็พอทน แต่วันใหนราคาตกก็คงจนกันทั้งชาติลืมตาอ้าปากไม่ได้ เพราะต้องหาซื้อทุกอย่างมากินกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในชาวบ้านวัยทำงานเมื่อชอบพอกันจะต้องมีการสู่ขอแต่งงานกัน โดยสิ่งที่ขาดไม่ได้คือชุดแต่งงาน อย่างไรก็ต้องสวมให้ได้สักครั้ง จึงมีร้านให้เช่าชุดเจ้าบ่าว-เจ้าสาวมากมาย เพื่อให้หนุ่มสาวที่จะแต่งงานกันได้มีชุดวิวาห์ได้สวมใส่กันในวันแต่ง และสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับสาว ๆ คือชุดอ๋าวใหญ่ จะมีกันแทบทุกคนเพื่อใส่ในงานสังสรรค์ต่าง ๆ หรือใส่ไปยามไปเที่ยวก็ได้ ซึ่งเหมือนกับประเทศญี่ปุ่นที่จะต้องมีชุดกิโมโน แต่มองของไทยแล้วชุดไทยจะใส่ในงานแต่ง หรือ งานพิธีรำประมาณนี้เท่านั้น อีกอย่างคือหมวกที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวเวียดนามของผู้หญิงจะเรียกว่า "กุ๊ก" ของผู้ชายจะเป็นหมวกที่ท่านโฮจิมินท์เคยใส่ มีกันทุก ๆ บ้าน ใส่กันได้ทุกที่ทุกเวลา
ภาพหมวกผู้ชายที่นิยมใส่กันทุกบ้าน


โดยรวมแล้วชาวเวียดนามมีจิตใจเอื้อเฟื้อต่อเพื่อนบ้านกันมาก บ้านใครลูกหลานใครห่างไกลกันเป็น 10 กิโลเมตรก็ยังรู้จักกันได้

การศึกษา
ในประเทศเวียดนาม ในทางชนบทส่วนมากจะมีการศึกษาแค่ประถม6แค่นั้น ภาษาอังกฤษไม่ต้องพูดถึงเพราะโรงเรียนจะไม่บรรจุในบทเรียนบทสอนในโรงเรียน ถ้าต้องการเรียนรู้จะต้องเสียเงินไปเรียนเอง ชาวเวียดนามจึงไม่มีความรู้ในภาษาอังกฤษแม้แต่น้อย ทั้งที่การอ่านก็คล้าย ๆ กับภาษาเวียดนามแต่ชาวบ้านถ้าเห็นไม่เป็นภาษาเวียดนามชาวบ้านจะไม่สนใจเลย แต่เท่าที่สัมผัสกับคนเรียนภาษาอังกฤษในเวียดนาม จะอ่อนในเรื่องนี้มากเกือบทุกคน เพราะครูที่สอนเรื่องนี้อ่อนมาก สำเนียงภาษาอังกฤษใช้ไม่ได้เลย(ออกแนว ๆ เสียงเวียดนาม)

นักเรียนในเวียดนามไม่มีแบบฟอร์มนักเรียน จึงแล้วแต่ว่าจะใส่ชุดอะไรไปโรงเรียน ในหนังสือบทเรียนของเวียดนาม ในแต่ระดับชั้น ทุก ๆ เล่มจะแทรก มหาวีระบุรุษที่ชาวเวียดนามนับถือกันคือ "โฮจิมินท์" ไว้ในบทเรียนอยู่เสมอ โดยทุกกิจกรรมของชาวบ้านจะมีการอ้างท่านโฮจิมินท์ เพื่อใ้ห้ชาวบ้านเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เนื่องจากชาวบ้านทุกคนในประเทศเวียดนามได้รับการปลูกฝังเรื่อง โฮจิมินท์ และ ความรักชาติอย่างเข้มข้น การพูดดูถูกชาวบ้าน หรือ อะไรก็ตามชาวบ้านก็รับได้ แต่ถ้าไปดูถูก เรื่องโฮจิมินท์ เรื่องการรักชาติ หรือเรื่องประเทศชาติ ชาวเวียดนามได้เอาตายแน่....

นับเป็นความผิดพลาดอย่างรุนแรงที่ทางราชการกำหนดเครื่องหมายตัวเลขในบทเรียนบทสอน เช่น 10.3 หมายถึง 10คูณ3 10.000 หมายถึง 1 หมื่น
3,25 หมายถึง 3.25 (สามจุดสองห้า) ทำให้เครื่องคิดเลขใช้ในประเทศเวียดนามไม่ได้ (แต่เขาก็อยู่กันได้)

และสิ่งที่ไม่น่าชื่นชมของชาวเวียดนามคือ การไร้ระเบียบวินัย ใครอยากทิ้งขยะตรงใหนก็ทิ้ง ใครอยากสูบบุหรี่ตรงใหนก็สูบไม่ว่าบนรถเมล์ รถแท็กซี่ ฯลฯ การติดต่อราชการต่าง ๆ ก็ไม่มีคิวรอใครมือยาวสาวได้สาวเอา เราจึงเห็นการยืนออกันที่ด้านหน้าเจ้าหน้าที่ที่ช่องต่าง ๆ เพื่อให้ธุระของตัวเองสำเร็จ

การจราจร
ในประเทศเวียดนามมีการขับรถที่เลนขวา ทำให้สับสนเล็กน้อยในการขับรถ ในประเทศเวียดนามมีถนนที่แคบมาก ขนาดประมาณพอให้สิบล้อสองคันสวนกันได้ มีการใช้ทั้งรถ จักรยาน มอร์เตอร์ไซด์ และรถยนต์ต่าง ๆ ในท้องถนน มีการขับรถแบบตามใจฉัน คือไร้วินัยกันมาก ขับช้า ๆ ก็พากันขับกันกลางถนน อยากเลี้ยวก็เลี้ยวกระทันหัน จึงมีอุบัติเหตุกันบ่อยมาก ทางการเลยรณรงค์ให้สวมหมวกนิรภัยและเคารพกฎจราจรกัน แต่ค่อนข้างจะไร้ผล
ป้ายรณรงค์ให้สวมหมวกนิรภัยและเคารพกฎจราจร

ภาพมอร์เตอร์ไซด์ในเวียดนามที่ทุกคันจะเป็นแบบสตาร์ทมือทั้งสิ้น ไม่ไม่มีคันใหนเลยที่สตาร์ทด้วยเท้าอย่างเดียว

ภาพรถม้าที่ยังพอมีให้เห็นประปลาย


มองดูรถในประเทศเวียดนามมีทุกประเภท แต่.... ให้ตายเถอะหารถปิคอัพไม่เจอเลยสักคัน ประเทศเวียดนามไม่มีรถปิคอัพแม้แต่คันเดียวจริง ๆ ซึ่งต่างจากประเทศเพื่อนบ้านคือลาวมีรถปิคอัพมากกว่ารถเก๋งหลายเท่าตัว จึงมีแต่รถบรรทุก6ล้อเล็กแทน โดยตั้งแต่รถบรรทุกขึ้นไปทางเวียดนามกำหนดให้ต้องนำหมายเลขทะเบียนรถมาพิมพ์เพิ่มเติมที่ด้านข้างและด้านหลังรถเป็นตัวหนังสือตัวโต ๆ กันทุกคัน
รถบรรทุกที่ใช้แทนรถปิคอัพ


สำหรับสาว ๆ ที่ขึ้นชื่อว่าผิวขาวนั้น เป็นอะไรที่กลัวแดดกันมาก ถ้าขี่จักรยานจะต้องมีร่ม1คันกางอยู่เสมอ แต่ถ้าเป็นการขับมอร์เตอร์ไซด์หญิงชาวเวียดนามมีความอึดสูงมาก หาเสื้อผ้าใส่ที่คลุมได้ทุกส่วนสัดของร่างกายร้อนไม่ว่าแต่อย่าให้ถูกแดดเป็นพอ
สาวๆเวียดนามขี่จักรยานกางร่มที่เห็นจนชินตาในเวียดนาม


สาวๆสวมเสื้อผ้ากันแดดแบบไม่กลัวร้อนในกรุงฮานอย


ในประเทศเวียดนาม ตำรวจจราจรจะไม่จับรถยนต์(รถเก๋ง) เพราะส่วนมากจะเป็นผู้มีอันจะกินหรือเจ้านาย(ข้าราชการ) จึงจับเฉพาะรถมอร์เตอร์ไซด์กันโดยจะต้องมีใบขับขี่ สวมหมวกนิรภัย และห้ามซ้อนสาม โดยถ้าใครถูกจับแล้วจะมีการปรับที่แรงมากคือ ปรับประมาณ 3-400 บาท(สำหรับเขาแพงมาก) แต่ที่แย่กว่านั้นคือการยึดรถ1เดือน มอร์เตอร์ไซด์ที่ทำผิดจึงทำทุกวิถีทางที่จะหนีการจับกุมให้ได้ จึงเห็นมีการล่าจับกุมกันเป็นประจำ
เทศกาลเต็ด (Tet)
 
เทศกาลอรุณแรกแห่งปี หรือ เต็ด เหวียน ดาน Tet Nguyen Dan ซึ่งเป็นเทศกาลที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมานาน
ตรุษจีนจึงถือเป็นวันหยุดที่สำคัญมากช่วงหนึ่งของชาวจีน นอกจากนั้นยังแผ่อิทธิพลไปถึงการฉลองปีใหม่ของชนชาติใกล้เคียงกับตนอย่างเช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เมี่ยน ม้ง มองโกเลีย ทิเบต และเวียดนาม เป็นต้น
ชาวจีนแผ่นดินใหญ่หยุดงานกันตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม ไปจนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ส่วนชาวจีนในบ้านเราก็ตระเตรียมสิ่งของเพื่อเซ่นไหว้ ขอพรจากเทพเจ้า นำโชคลาภเข้าสู่บ้านและตัวเอง

เวียดนามประเทศในแถบเอเชียที่ได้รับกลิ่นอายของวัฒนธรรมจีนมาเป็นเวลานาน ประเพณีและวัฒนธรรมบางอย่างจึงคล้ายกับชาวจีน
ในช่วงเวลาเดียวกันนี่เองเวียดนามก็มีเทศกาลอรุณแรกแห่งปี หรือ เต็ด เหวียน ดาน Tet Nguyen Dan ซึ่งเป็นเทศกาลที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมานาน
กล่าวกันว่า เทศกาลเต๊ดนี้จะเริ่มขึ้นหนึ่งอาทิตย์ก่อนวันปีใหม่ซึ่งยึดตามหลักจันทรคติ ในช่วงเวลานั้นจะมีพิธีเซ่นไหว้เต๋า กวาน หรือเทพเจ้าแห่งครัว ด้วยผลไม้สด และอาหารที่ปรุงแล้ว รวมทั้งหุ่นกระดาษรูปนกกระสา ม้า รถ รองเท้าขุนนางและชุดเครื่องแต่งกายในพิธีเฉลิมฉลองให้แก่เต๋า กวาน

ตำนานเรื่องราวของเต๋า กวาน เป็นโศกนาฎกรรมระหว่างชายตัดไม้กับภรรยาของตัวเอง พวกเขาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขด้วยกันมาเนิ่นนาน กระทั่งวันหนึ่ง ผู้สามีเริ่มรู้สึกเป็นทุกข์ เมื่อเขาและภรรยายังไม่อาจหาทายาทมาสืบสกุลได้

ชายตัดไม้จึงเริ่มดื่มเหล้าอย่างหนักและปฏิบัติตัวกับภรรยาอย่างเลวร้าย เมื่อสุดจะทนฝ่ายภรรยาจึงหนีไปจากชายตัดไม้และไปอยู่กินกับพรานคนหนึ่งในหมู่บ้านใกล้ๆ กัน.....
ด้วยความว้าเหว่เมื่อขาดคู่ชีวิตไปและเริ่มสำนึกได้ถึงความผิดที่ตัวเองทำร้ายจิตใจภรรยาตัวเอง ชายตัดไม้จึงตัดสินไปหาภรรยาที่บ้านใหม่ เพื่อขอโทษในสิ่งที่ตัวเองได้เคยทำกับเธอ

เรื่องอาจจะจบลงได้ด้วยดี ถ้าไม่เผอิญกับช่วงเวลานั้น พรานผู้เป็นสามีกลับบ้านพอดี ด้วยความที่ไม่อยากให้สามีใหม่เข้าใจผิด ฝ่ายภรรยาจึงพาสามีเก่าไปซ่อนไว้ที่ยุ้งข้าวใกล้กับครัว เมื่อพรานเข้าไปย่างเนื้อที่ตัวเองเพิ่งล่ามาได้ในครัว เปลวไฟก็ให้บังเอิญไปติดยุ้งข้าวนั้นลุกโชนขึ้นมา

ฝ่ายภรรยาอารามตกใจ รีบวิ่งเข้าไปช่วยอดีตสามีในกองเพลิง โดยมีพรานสามีใหม่ตามเข้าไปช่วยชีวิตภรรยา ทั้งสามจึงสิ้นใจในกองเพลิงนั้นร่วมกัน
เทพเจ้าบนสวรรค์เห็นใจในความรัก ความเสียสละของคนทั้งสาม จึงแต่งตั้งให้วิญญาณทั้งสามเป็นมีหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่ของผู้คนบนโลกมนุษย์จาก จุดที่มองออกไปได้ภายในครัว เทพทั้งสามนี้จึงได้รับการขานนามว่า เป็นเทพเจ้าแห่งครัวของแต่ละบ้านไป...

แต่ก็มีเรื่องเล่าที่ต่างกันไปเช่นออง เตา Ong Tao ซึ่งเป็นเทพเจ้าที่ถูกส่งลงมาจากสวรรค์เพื่อทำหน้าที่คุ้มครองครัวในบ้านแต่ละหลัง และในช่วงเทศกาล เต็ด นี้ออง เตา ต้องกลับขึ้นไปบนสวรรค์เพื่อรายงานแก่พระเจ้าถึงสารทุกข์สุกดิบของบ้านแต่ละหลัง ก่อนที่เทพเจ้าจะขึ้นไปบนสวรรค์ ชาวเวียดนามต้องทำพิธีส่งเทพเจ้า โดยใช้ปลาคาร์พเป็นเครื่องบูชา เพื่อเชื่อกันว่าปลาคาร์พเป็นพาหนะที่จะนำเทพเจ้าออง เตาไปสู่สวรรค์ คนในบ้านจะวางถังน้ำที่ใส่ปลาคาร์พ ไว้ที่แท่นบูชาของบ้าน เมื่อครบกำหนดก็จะนำปลาไปปล่อย

ชาวเวียดนามสร้างไก เนว Cay neu ซึ่งเป็นต้นไม้ทำจากลำไผ่ มาปักไว้หน้าบ้านเป็นเวลา 7 วันพร้อมประดับด้วยกระดาษสีแดง สัญลักษณ์แห่งความโชคดี ตามตำนานเชื่อกันว่าจะทำให้วิญญาณชั่วร้ายหวาดกลัวและหนีไป

นอกจากไกเนว แล้วชาวเวียดนามยังมีต้นไม้มงคลที่จะนำมาตั้งไว้หน้าบ้านของตัว อย่างต้น
hoa mai ที่ออกดอกสีเหลือง ถือเป็นสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิ ทำให้คนในบ้านมีความสุขและโชคดี

เสียงแรกที่ได้ยินในวันปีใหม่นั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญ เสียงไก่ขัน ถือเป็นสัญลักษณ์ของงานหนักและการเก็บเกี่ยวที่ไม่ได้ผล ส่วนถ้าเป็นเสียงร้องของควายจะแสดงว่าปีนั้นเป็นปีของความเหนื่อยยาก แต่หากเป็นเสียงสุนัขเห่ากลับกลายเป็นปีแห่งความไว้วางใจและซื่อสัตย์....

นอกจากเสียงแล้วผู้มาเยือนในวันแรกแห่งปีก็สำคัญไม่แพ้กัน เช่นถ้าคนผู้นั้นเป็นคนมีเกียรติร่ำรวยและมีชีวิตที่สุขสบาย ก็จะหมายถึงครอบครัวที่คนผู้นั้นไปเยือนจะมีความสุขตามไปด้วย

อาหารประจำเทศกาลเต็ดรวมทั้งกิจกรรมอื่นๆ ก็มีความละม้ายกับเทศกาลปีใหม่ของชาวจีนอีกหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นบะจ่าง การเชิดสิงโต หรือแม้กระทั่งปะทัด และอั่งเปา ด้วยหวังว่าปีใหม่ ศักราชใหม่จะนำพาสิ่งดีๆ มาสู่ทุกคนในครอบครัว อีกทั้งมีความหวังในเป็นวาระแห่งมงคลด้วย


 
ด่ง

đồng Việt Nam (เวียดนาม)
ธนบัตร 10000 ด่ง
ธนบัตร 10000 ด่ง
  รหัส ISO 4217
VND
ใช้ใน
อัตราเงินเฟ้อ
23%
ข้อมูลจาก
Vietnam Business Finance, 24 สิงหาคม 2011
หน่วยย่อย
 
1/10
ห่าว
1/100
ซู
สัญลักษณ์
เหรียญ
 
เหรียญที่ใช้บ่อย
200 ด่ง, 500 ด่ง, 1000 ด่ง, 2000 ด่ง, 5000 ด่ง
ธนบัตร
 
ธนบัตรที่ใช้บ่อย
100 ด่ง, 200 ด่ง, 500 ด่ง, 1,000 ด่ง, 2,000 ด่ง, 5,000 ด่ง , 10,000 ด่ง, 20,000 ด่ง, 50,000 ด่ง, 100,000 ด่ง, 200,000 ด่ง, 500,000 ด่ง
ธนาคารกลาง
 
 





THB





VND
coinmill.com
20.0013,400
50.0033,400
100.0066,800
200.00133,400
500.00333,600
1000.00667,200
2000.001,334,400
5000.003,336,000
10,000.006,672,000
20,000.0013,344,000
50,000.0033,360,000
100,000.0066,720,000
200,000.00133,440,200
500,000.00333,600,400
1,000,000.00667,200,800
2,000,000.001,334,401,400
5,000,000.003,336,003,600
THB อัตรา
24 สิงหาคม 2012





VND





THB
coinmill.com
20,00030.00
50,00075.00
100,000150.00
200,000299.75
500,000749.50
1,000,0001498.75
2,000,0002997.50
5,000,0007494.00
10,000,00014,988.00
20,000,00029,976.00
50,000,00074,940.00
100,000,000149,880.00
200,000,000299,759.75
500,000,000749,399.75
1,000,000,0001,498,799.25
2,000,000,0002,997,598.75
5,000,000,0007,493,996.75
VND อัตรา
24 สิงหาคม 2012
 
 

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ศิลปวัฒนธรรมประเทศเวียดนาม

ด้านศิลปวัฒนธรรมของเวียดนาม มีความแตกต่างกับศิลปวัฒนธรรมของไทยอย่างมาก ที่เป็น อย่างนี้เป็นเพราะเวียดนามถูกปกครองโดยประเทศจีนมาหลายครั้งหลายหน จนอาจเรียกได้ว่า อารยธรรม วัฒนธรรม ของเวียดนาม คือ วัฒนธรรมของประเทศจีน นั่นเอง โดยเฉพาะทางด้านศิลปของโบราณสถาน ต่าง ๆ อาทิ พระราชวัง วัด สุสาน ฯลฯ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันจนไม่สามารถแยกออกให้เห็นอย่าง เด่นชัด แม้ในช่วงหลังมานี้ เวียดนามอาจได้รับอิทธิพลจากประเทศฝรั่งเศล และญี่ปุ่นอยู่บ้าง แต่ใน ภาพรวมแล้วจะคล้ายคลึงกับประเทศจีน และมีหลักฐานให้เห็นอยู่ทั่วไปบริเวณสองข้างทางที่พวกเราผ่านไป เกือบทุกถนน

ถ้าจะกล่าวถึงวัฒนธรรมนั้นสามารถ แยกแยะออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้หลากหลายในที่นี้จะ กล่าวเปรียบเทียบระหว่างวัฒนธรรมเวียดนาม กับ วัฒนธรรมไทยหรืออื่น ๆ เท่าที่จะค้นคว้าได้ ดังนี้

วัฒนธรรมทางด้านภาษา ภาษาของเวียดนามในช่วงแรกใช้อักษรจีนมาตลอดจนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๓ จึงเปลี่ยนมาใช้ อักษรโรมัน (quoe ngu) และถ้าสังเกตจริง ๆ แล้วเป็นวัฒนธรรมของฝรั่งเศล และเมื่อนำมาเปรียบเทียบ การออกเสียงหรือความหมายของคำแล้วจะพบว่า ความใกล้เคียงของภาษาไทยกับภาษาลาวจะใกล้เคียง กันมากกว่า ภาษาเวียดนาม ดังตัวอย่างง่าย ๆ ต่อไปนี้

ในส่วนของการใช้สัญลักษณ์ของป้ายทะเบียนท้ายรถยนต์ มีความแตกต่างกันมาก เช่นกัน ดังรายละเอียดต่อไป


การแต่งกายและการรักษาวัฒนธรรมทางการแต่งกาย
สำหรับการแต่งการของเวียนนามโดยทั่วไปก็เหมือนกับประชาชนคนไทยกล่าวคือ หนุ่มสาวรับ วัฒนธรรมของตะวันตกคล้ายกับเยาวชนไทย ต่างกับการแต่งการของเยาวชนชาวลาวซึ่งยังคงยึดมั่นใน วัฒนธรรมประจำชาติของตน กล่าวคือ เยาวชนผู้หญิงยังคงนุ่งซิ่นกรวมเท้า สวมเสื้อมีปกสีขาวแขนสาม ส่วน ส่วนฝ่ายชายก็แต่งตัวเรียบร้อยนุ่งกางเกงทรงสุภาพและใส่เสื้อเชิ้ตเป็นส่วนใหญ่ ดังจะกล่าวถึงเคร่อื ง แต่งกายประจำชาติของเวียดนามก็คล้ายกับเครื่องแต่งกายของคนจีนนั่นเองแต่จะมีชื่อเรียกต่างกัน คือ ชุด ประจะชาติของหญิงนี่เป็นสัญลักษณ์เป็นที่รู้จักกันเป็นชุดคลุมยาวผ่าข้างสง คอตั่ง อาจมีแขนหรือแขนกุด กางเกงขายาวหรือกระโปรงมักเป็นสีขาวหรือสีเดียวกับชุดคลุมมีชื่อเรียกว่า ชุดอ๋าวใหม่ ตัดเย็บด้วยตัวสี เรียบๆส่วนชุดนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกันนี้ แต่มักเย็บด้วยผ้าไหมด้านหรือแพรเนื้อหนาซึ่งมีชื่อว่า กี่เพ๊า เป็น ชุดประจำชาติ
ส่วนของชาวเขาที่มีอยู่หลายเผ่าก็มีเสื้อผ้าที่คล้ายกันกับชาวเขาโดยทั่วๆ ไปอาจจะมีส่วนต่างกันอยู่ บ้างตามความเชื่อของแต่ละเผ่า

วัฒนธรรมพื้นบ้าน สิ่งก่อสร้าง รูปทรงและศิลป์การตกแต่งนับตั้งแต่ตึกรามบ้านช่องของคนเวียดนามยังคงมี รูปลักษณ์ของจีนอยู่มากแต่บางพื้นที่ก็มีศิลป์ของฝรั่งเศส หรือ ญี่ปุ่น อยู่อย่างกลมกลืน แต่เท่านี้สิ่งสังเกต ศิลป์ของเวียดนามจากสถานที่สำคัญๆ แม้จะเป็นศิลป์วัฒนธรรมของจีนแต่ในส่วนที่เป็นการตกแต่งดูจะมี ความอ่อนไหวกว่าเล็กน้อย แต่ถึงอย่างไรก็มองเหมือนศิลป์จีนชัดเจน


ศิลปพื้นบ้าน ศิลปพื้นบ้านที่เด่นๆเท่าที่สังเกตก็คล้ายกับของไทย เช่น เครื่องจักรสาน เครื่องปั้นดินเผาควรทำ โดยไฟจากกระดาษ แต่ในเรื่องของดนตรียังมีกลิ่นไอของเพลงจีนอยู่อย่างแนบแน่น เครื่องดนตรีเพียง ๒ - ๓ ก็สามารถสร้างความไพเราะได้อย่างน่าชม

อาหารเวียดนาม สำหรับอาหารของเวียดนาม เป็นอาหารที่คนไทยรู้จักมาอย่างใกล้ชิดเพราะเป็นอาหารที่มีผักเป็น เครื่องแกล้ม และไม่ค้อยมีไขมัน ปัจจุบันร้านอาหารเวียดนามมาแพร่หลายในกรุงเทพฯอย่างกว้างขวาง ซึ่ง สมัยก่อนจะรับประทานอาหารเวียดนามต้องไปแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดหนองคาย อุบลราชธานี อุดรธานี ฯลฯ แต่เมื่อได้ไปสัมผัสกับเจ้าของตำรับจริงๆกลับไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ เนื่องจากรสชาติที่ค่อนข้างจืดชืด การตกแต่งก็ไม่ประณีตเหมือนในเมืองไทย แต่ก็ยอมรับว่ามีหลากหลาย ทีเดียว

จากการสังเกต ตามตำรับจริงๆแล้วอาหารเวียดนามหลายชนิดที่หนักไปทางแป้ง บางอย่างก็มีไส้ บางอย่างก็มีแต่แป้งอย่างเดียว ราดน้าจิ้มที่มีเพียงแบบเดียวกันหมด (ไม่หลากหลายเหมือนเมืองไทย)





ประเทศเวียดนามเคยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลจากจักรพรรดิจีนมานาน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่สิ่งก่อสร้าง ศิลปวัฒนธรรม อาหารการกินจะคล้ายประเทศจีน นอกจากนั้นยังมีความหลากหลายของผู้คน ทั้งชาวเขา หลากหลายชนเผา ทางด้านเหนือของเวียดนามซึ่งคล้ายกับประเทศไทย หรือ เมื่อฝรั่งเศสเข้ามาปกครองจึง มีศิลปวัฒนธรรมตึกรามบ้านช่องที่ทันสมัยอย่างเช่น ตึกสีเหลืองสไตล์โคโลเนียลที่มีให้พบแทบทุกเมือง เวียดนามในเช่นนี้จึงมีการผสมผสามในทุกๆอย่าง ทั้งสิ่งก่อสร้าง ศาสนา วิถีชีวิต ตลอดจนอาหารการกิน และสิ่งที่สังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือการที่นักเรียนต้องกับไปรับประทานที่บ้านในช่วงพักกลางวัน เหมือนกับ นักเรียนในประเทศลาว และพอมาวิเคราะห์ดูอาจเป็นเพราะทั้งสองประเทศเคยอยู่ภายใต้การปกครองของ ฝรั่งเศสเหมือนกัน แต่ประเทศลาวยึดมั่นในการที่จะรักษาวัฒนธรรม-ประเพณี ไว้ได้เหนียวแน่น การที่จะ ยอมรับวัฒนธรรมทางตะวันตกเข้ามาง่ายๆ ถ้าประเทศไทยเราจะมีการรณรงค์เพื่อปลูกฝังให้คนไทยยึดมั่น ในศิลปวัฒนธรรมประจำชาติของไทยไว้ให้มั่นคงใช้วิจารณญาณในการเลือกรับวัฒนธรรมต่างชาติมาใช่ได้ จะเป็นการสร้างเอกลักษณ์ของชาติให้ยืนยงยั่งยืนไปจนชั่วลูกชั่วหลานตลอดไป